สะดุ้งตื่นกลางดึก บ่อยๆ ปัญหาการนอนที่ไม่ควรปล่อยไว้
Middle Insomnia หรือ อาการตื่นกลางดึก ที่นับเป็นหนึ่งในประเภทของโรคนอนไม่หลับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยๆและนอนหลับต่อไปด้วยความยากลำบาก พอตื่นเช้ามากลับรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น มาดูกันว่าสาเหตุและวิธีการแก้ไขคืออะไร
สาเหตุของการตื่นกลางดึก
อาการของการตื่นกลางดึกจริงๆ แล้วมีสาเหตุได้หลายปัจจัย สาเหตุทางกายภาพ เช่น ความเจ็บปวดทางร่างกาย ปัญหาการหายใจ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (ในผู้หญิงช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน) โรคเกี่ยวกับสมอง การปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุทางจิต เช่น ความวิตกกังวลและความเครียดก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหานี้เช่นกัน เพราะเมื่อเครียดจะส่งผลให้ฮอร์โมนอยู่ในร่างกายมากเกินไป ทำให้นอนหลับไม่สนิท หรือต้องสะดุ้งตื่นกลางดึกโดยปกติจะเป็นไม่บ่อยนัก แต่ถ้าเป็นอาการเรื้อรัง คือเป็นมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม เพราะนั่นอาจนำไปสู่โรคการนอนไม่หลับแบบถาวรได้
อาการสะดุ้งตื่นกลางดึก หลับ ๆ ตื่น ๆ ส่งผลอะไรได้บ้าง?
1. ภาวะอารมณ์ หงุดหงิดได้ง่าย ควบคุมอารมณ์ได้น้อยลง
2. ความคิด สมองของเราจะอ่อนล้ากว่าปกติ การคิด การตัดสินใจ จะประมวลผลได้ช้าลงกว่าปกติ ในสมองของเราเมื่อนอนหลับ จะมีระบบในการเคลียร์บางอย่างที่ไม่จำเป็นในระบบประสาททิ้ง ซึ่งถ้าไม่ได้ทำงาน ก็จะทำให้ทุกเรื่องยังวนอยู่ในหัวของเรา ไม่ถูกจัดระเบียบ
3. กระทบต่อสุขภาพกาย เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือโรคในระบบร่างกายต่าง ๆ ฯลฯ
แก้ปัญหาตื่นกลางดึกแค่ปรับพฤติกรรม
1. งดดื่มกาแฟช่วงบ่าย : คาเฟอีนให้โทษกับเราเมื่อถึงเวลานอน แม้ระยะห่างการดื่มและการนอนจะห่างกัน แต่ความสามารถของร่างกายในการจัดการคาเฟอีนไม่เท่ากัน ดังนั้นหากใครที่ติดดื่มชา กาแฟ หรือคาเฟอีน แนะนำให้ดื่มในช่วงเช้า หรืออย่างน้อยให้ห่างจากเวลาเข้านอนประมาณ 6 ชั่วโมง
2. อ่านหนังสือเบาสมอง : การอ่านหนังสือเบาสมอง จะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ช่วยในการบั่นทอนความเครียด เมื่อความเครียดลดน้อยลง ก็จะทำให้หลับง่ายและสนิทยิ่งขึ้น
3. สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย : การตั้งใจนอนจะยิ่งทำให้เราเครียดกว่าเดิม ลองเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเปิดเพลงไม่มีเนื้อร้อง หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
4. เทคนิคหายใจแบบ 4-7-8 : เทคนิคที่คิดค้นโดย ดร.แอนดรู เวล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด การกำหนดลมหายใจแบบอินเดียโบราณ มีสรรพคุณเหมือนยาระงับประสาทอ่อนๆ แต่เป็นวิธีธรรมชาติ ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ด้วยการหายใจเข้านับหนึ่งถึง 4 ช้าๆ จากนั้นกลั้นหายใจอีก 7 วินาที แล้วจึงปล่อยลมหายใจ 8 วินาที ทำแบบนี้จนครบ 4 ครั้งจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เทคนิคการหายใจแบบนี้ มีผลทำให้ระบบประสาทสงบลง จึงอาจรู้สึกมึนและวิงเวียนในช่วงแรกๆ ที่ทำได้
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนนอน ที่ช่วยให้หลับง่ายขึ้น
แสงสีฟ้า : แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นจากสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ มีผลทำให้นอนหลับยากขึ้น อีกทั้งข่าวสารที่เสพอาจทำให้กังวลไม่รู้ตัว และอาจตื่นขึ้นมากลางดึกได้
ทำงานแล้วเข้านอนทันที การทำงานแล้วเข้านอนทันทีโดยไม่หยุดพัก ทำให้สมองยังคงวิ่งวุ่นอยู่แม้ร่างกายจะหยุดแล้ว ทั้งยังมีฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดจากความเครียดในการทำงานหลงเหลืออยู่ สุดท้ายแม้จะได้หลับ ก็เป็นการหลับที่ไม่เต็มอิ่ม และอาจตื่นขึ้นมากลางดึกได้
การตั้งใจนอนมากเกินไป : เมื่อตื่นกลางดึกหลายคนอาจคิดว่าแค่หลับตาเดี๋ยวก็หลับต่อได้เอง ความจริงแล้ การตั้งใจนอนหลับ มักทำให้นอนไม่หลับมากขึ้นกว่าเดิม ลองลุกไปดื่มน้ำ หรือเข้าห้องน้ำให้จิตใจสงบขึ้น จนรู้สึกง่วง จะทำให้กลับมานอนต่อได้เร็วขึ้น
สารสกัดจากธรรมชาติบางชนิดก็ช่วยให้หลับสนิท
สารสกัดจากธรรมชาติบางชนิด ช่วยออกฤทธิ์ช่วยให้สมองผ่อนคลาย และหลับได้สนิทยิ่งขึ้น อย่าง แมกนิเซียม, L-theanine, Chamomile, Tart Cherr yและ เลมอนบาล์ม ซึ่งพืชสมุนไพรโบราณที่ใช้มายาวนานกว่า 2000 ปี ซึ่งสารสกัดทั้งหมดนี้ DreamVita ได้นำมารวมไว้ใน 1 เม็ด เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทาน เพียงวันละ 1-2 เม็ดก่อนเข้านอน ช่วยแก้อาการหลับไม่สนิท และนอนไม่หลับ เหมาะกับคนที่ชอบหลับๆ ตื่นๆ หรือชอบตื่นกลางดึก และมีอาการง่วงซึมหลังตื่นนอน
สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line OA : @pealicious or https://lin.ee/ileGPLS
#หลับไม่สนิท #อาการหลับไม่สนิท #หลับๆตื่นๆ #หลับลึก #นอนกระสับกระส่าย #สะดุ้งตอนนอน #อาการหลับๆตื่นๆ #นอนไม่หลับ #ตื่นบ่อย #หลับไม่ยาว #หลับสะดุ้ง
Comments