Binge Watching อาการติดซีรีส์จนไม่หลับไม่นอน เสี่ยงโรคร้ายตามมาเพียบ
top of page

Binge Watching อาการติดซีรีส์จนไม่หลับไม่นอน เสี่ยงโรคร้ายตามมาเพียบ



เคยไหม ดูซีรีส์จนติดลมไม่ยอมนอน ถึงจะง่วงก็อยากจะดูให้จบก่อน จนบางทีลากยาวถึงเช้า หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อาจหมายถึงคุณกำลังมีพฤติกรรม “Binge watching” เข้าให้แล้ว ถึงแม้ว่าการติดซีรีส์จะไม่ใช่โรคร้าย แต่พฤติกรรมนี้สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายทาง ทั้งการพักผ่อนไม่เพียงพอและ เสี่ยง Computer Vision Syndrome รวมไปถึงส่งผลต่อกิจวัตรในชีวิตประจำวันอีกด้วย


Binge Watching คืออะไร


Binge Watching คือ พฤติกรรมการดูซีรีส์แบบรวดเดียวจบ โดยมีดูซีรีส์ต่อเนื่องเป็นเวลานานแบบไม่พัก หยุดดูไม่ได้เพราะรู้สุกค้างคา โดยพฤติกรรม Binge Watching นี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่เริ่มมี VDO ภาพยนต์และละคร และกลับมาแพร่หลายอีกครั้งในปัจจุบันที่มีบริการสตรีมมิ่งหลายเจ้า ที่มอบความบันเทิงให้ดูทั้งในรูปแบบภาพยนต์หรือซีรีส์ที่มีหลายตอน หลายซีซั่น ดูกันยาวๆ

สงสัยหรือไม่ว่าทำไมบางครั้ง เราดูซีรีย์แล้วหยุดไม่ได้ อยากจะดูต่ออีกเรื่อยๆ นั้นก็เพราะ ตัว Corticotropin-Releasing Hormone หรือ CRH ที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อรู้สึกตื่นเต้น เกิดความสงสัย มีความอยากรู้อยากเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในตอนต่อไป ซึ่งทางซีรีส์เองก็ชอบตัดจบแบบทิ้งประเด็นไว้ท้ายตอน กระตุ้นให้เรารู้สึกอยากดูตอนต่อไปอีกเรื่อย ๆ และเมื่อได้คลิกดูตอนต่อไปเพื่อไขความสงสัย ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโดพามีนซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา จนทำให้เราสามารถอดหลับอดนอนดูซีรีส์ต่อยันเช้าได้นั่นเอง


Binge Watching ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง


  1. เสี่ยงโรคทางสายตา (Computer Vision Syndrome) จากการใช้สายตามองจอเป็นเวลานานทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ ส่งผลให้ตาแห้ง เหนื่อยล้า ตาพร่า และอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วยอาการ หรือถ้าดูซีรีส์ติดต่อกันนานๆ ไม่ยอมนอนพักสายตาเลย อาจเสี่ยงกับโรควุ้นในตาเสื่อม และโรคต้อหินเฉียบพลันได้ด้วย

  2. ออฟฟิสซินโดรม (Office Syndrome) อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องไม่วาจะเป็นท่านั่ง การวางมือ ศอกที่ไม่ถูกต้อง การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้

  3. พักผ่อนไม่เพียงพอ จากที่ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้าสะสม เพลีย เหนื่อยง่าย เพราะดูซีรีย์จนไม่มีเวลานอน พอนอนน้อยก็ส่งผลให้จะหงุดหงิดง่าย กลายเป็นคนอารมณ์ร้อนได้ว่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

  4. กระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น นอนผิดเวลา ทานข้าวผิดเวลา ทำให้ส่งผลต่อการนอนหรือกินในมื้อถัดๆไป

  5. อ้วนขึ้น การนอนดึกยังจะทำให้เราอยากกินอาหารหวาน ๆ อาหาร junk food หรือ อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพแทน มากขึ้น


5 โรคเสี่ยง ที่คนติดซีรีย์ไม่ยอมนอน ต้องระวัง

  1. โรคต้อหินเฉียบพลัน (Acute Vertigo) เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคล้ายบ้านหมุน โดยไม่สามารถควบคุมตัวได้

  2. โรควุ้นในตาเสื่อม (Presbyopia) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเลนส์ส่วนของตาที่ใช้ปรับโฟกัสไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม ทำให้หากมีการอ่านหรือมองในระยะใกล้ อาจ มองเห็นไม่ชัดเจน

  3. ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นภาวะที่พบบ่อยในคนที่ทำงานในสำนักงานนานๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนั่งทำงานหรือใช้สายตาจดจ่อนานๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บหลัง คอ หรือไหล่ ตามมา

  4. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการนอนหลับ หรือมีความยากลำบากในการคงความนอน สามารถเกิดจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมหรือปัจจัยทางสุขภาพและจิตใจต่างๆ

  5. โรคอ้วน (Obesity) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานที่เหมาะสม สามารถเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยได้



Binge Watching แก้ได้อย่างไรบ้าง

  1. กำหนดเวลาในการดู หรือตอนที่จะดูเพื่อควบคุมไม่ให้ดูมากจนเกินไป

  2. ทำกิจกรรมอื่นแทนบ้าง เช่น เล่นกีฬา วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง เป็นต้น

  3. คอยเตือนตนเองว่าจะเกิดผลเสียอย่างไร หากดูซีรีส์จนถึงเช้า

  4. ตั้งเป้าหมายในการใช้ชีวิตเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทำสิ่งอื่นแทนการดูซีรีส์มากขึ้น

  5. กำหนดเวลาเข้านอน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด



พยายามเข้านอนแล้ว แต่นอนไม่หลับต้องทำอย่างไร

  1. ควบคุมสิ่งเร้าจัดให้ห้องนอนเหมาะสำหรับการนอนหลับ เช่น การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม การปิดไฟหรือใช้ไฟหรี่ งดนอนบนเตียงถ้ายังไม่ง่วง งดทำงานบนเตียง ลุกจากเตียงเมื่อตื่นนอนตอนเช้าทันที หลีกเลี่ยงการงีบหลับกลางวัน เป็นต้น

  2. สร้างความผ่อนคลายก่อนเข้านอน เป็นการสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกายและจิตใจเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การนอนหลับ เช่น การนั่งสมาธิ ฟังเพลงบรรเลง อ่านหนังสือเบา ๆ ฝึกกำหนดลมหายใจ ใช้น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

  3. ปรับความคิดและพฤติกรรม เพราะความคิดล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงความคิดหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องบางอย่างจะมีผลทำให้พฤติกรรมการนอนหลับดีขึ้น เช่น การหลับได้เยอะทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นต้น

  4. ใช้อาหารเสริมที่ช่วยในการนอนหลับ ซึ่งปัจจุบันมีอาหารเสริมหลายประเภทที่ช่วยในการนอนหลับ แต่หากคุณไม่อยากต้องรับมือกับผลข้างเคียงจากสารเคมีบางชนิด แนะนำให้มองหาอาหารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสามารถที่รบกวนการทำงานและการสร้างฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย



แน่นอนว่าการดูซีรีส์เป็นกิจกรรมโปรดของเราหลายคน แต่อย่าลืมว่าการควบคุมตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เราควรสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่าเข้าข่ายติดนิสัย Binge Watching หรือไม่ หากเข้าข่ายแล้วต้องไม่ปล่อยทิ้งไว้และรีบหาทางจัดการแก้ไข เพราะการนอนน้อยส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าที่คิด


หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน การนอนไม่หลับ ลอง Dreamvita อาหารเสริมที่ช่วยให้การนอนหลับเป็นเรื่องง่าย ด้วยการรวบรวมสารสกัดคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็น Tart cherry จากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดใน สหรัฐอเมริกา และ Magnesium ฟอร์มที่ดูดซึมง่ายและสารสกัดอื่นๆไม่ว่าจเป็น GABA, L-theanine, Chamomile, Glycine, Lemon balm


ที่สำคัญปราศจากส่วนผสมของเมลาโทนินและไม่ใช่ยานอนหลับ พร้อมดูแลการนอนของคุณภายในหนึ่งแคปซูล


สามารถทักมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อรับคำแนะนำและการดูแลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพักผ่อนและการนอนได้ที่ Line OA : @pealicious or https://lin.ee/ileGPLS⁠


Recent Posts
Archive

Be our friends

Stay connected!
to receive an exclusive offers and updates

©2023 by Pealicious, Be FIT FIRM FLAWLESS you

  • Line
  • Twitter
  • Facebook
  • Instagram
  • TikTok

Thanks for subscribing!

Are you an operator who'd love to sell or serve blue spirulina or pea protein?

bottom of page