top of page

เคล็ดลับงีบหลับ ฉบับตื่นมาแล้วเฟรช



ในช่วงชีวิคคนเราย่อมมีช่วงที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และทำให้ง่วงนอนระหว่างวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่แทนที่จะไปหาดื่มกาแฟอีกซักแก้ว อาจจะไม่ได้ช่วยให้อาการอ่อนเพลียลดลงเท่าไหร่ หากพอมีเวลาและสถานการณ์เอื้ออำนวย การงีบหลับสั้นๆ เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้อาการพักผ่อนไม่เพียงพอได้


แต่บางครั้งลองงีบแล้วตื่นมากลับมีอาการปวดศีรษะ มึนกว่าเดิม นั่นเพราะเราอาจกำลังงีบหลับอย่างไม่ถูกวิธี วันนี้ Pealicious wellness ขอเอาเคล็ดลับดีๆสำหรับการงีบหลับที่ตื่นมาอย่างสดชื่นมาฝากทุกคน


ประโยชน์ของการงีบหลับ

งานวิจัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าการงีบหลับระหว่างวันอาจช่วยป้องกันการหดตัวของสมอง เนื่องจากพบว่า การนอนหลับช่วงกลางวันมีส่วนเชื่อมโยงกับการที่เนื้อสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังพบอีกว่าพนักงานที่ได้งีบหลับในตอนกลางวันเป็นระยะเวลาสั้นๆ (Power nap) มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้บางบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศ ได้จัดให้มี facility ให้พนักงานได้พักผ่อนระหว่างวัน เช่น ห้องนั่งเล่น โซฟา หรือมุมเล็กๆสำหรับงีบหลับ เพื่อให้พนักงานได้ชาร์จแบตเติมพลังก่อนกลับมาทำงานอย่างเต็มที่ในช่วงบ่ายที่เหลือ


ควรงีบหลับกี่นาทีถึงจะดีต่อร่างกาย

ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับกางีบหลับ จะอยู่ในช่วง 10-20 นาทีซึ่งเรียกว่า “power nap” ถือว่าเพียงพอที่จะให้ระบบประสาทและสมองของเราได้รับประโยชน์จากการพักผ่อน โดยไม่ทำให้เราตื่นมาในสภาวะงัวเงียหรือไม่สดชื่น เนื่องจากไม่ได้เป็นการตื่นมาในระยะเวลาที่อยู่ในระยะหลับลึก


หลีกเลี่ยงการงีบหลับนานถึง 30 นาทีเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่จะทำให้ตื่นมาแล้วง่วงซึม ปวดหัวได้ หรือหากพอมีเวลา การงีบหลับประมาณ 60-90 นาที ก็จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ร่างกายพักผ่อนได้เต็มที่ ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย แก้อาการง่วงนอนและพักผ่อนไม่เพียงพอได้มากขึ้น ตื่นมาแล้วเฟรช ไม่ปวดหัว


การหลับนานเกินไปอาจทำให้เรารู้สึกง่วงนอนตอนตื่นมาหรือมีผลกระทบต่อรอบระบบการนอนของเราในกลางคืน นอกจากนี้ก็อาจทำให้รู้สึกงับเงียและมีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานใหม่หลังจากการนอนหลับสั้นๆ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับเวลาในการนอนหลับและไม่ควรงีบนานเกินไป.


เพื่อหลีกเลี่ยงการนอนเกินเวลา ให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเริ่มงีบเสมอ วิธีนี้จะช่วยให้ควบคุมระยะเวลาการงีบหลับและป้องกันไม่ให้รบกวนตารางเวลาการนอนตอนกลางคืนของคุณ


ช่วงเวลาที่ไม่ควรงีบหลับ

หากต้องการงีบหลับในช่วงกลางวัน ควรงีบในช่วง ระหว่าง 13.00 น. ถึง 15.00 น. และไม่แนะนำให้งีบหลับหลังเวลา 16:00 เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อรอบการนอนของเราในกลางคืน และอาจส่งผลให้คุณรู้สึกนอนยากในช่วงเวลาที่เหลือของวัน อาจทำให้ระบบการนอนของเราเสียสมดุลได้ ทำให้รู้สึกนอนยากในช่วงเวลากลางคืนหรือมีอาการตื่นกลางดึกตามมาได้


อยากงีบ แต่ไม่หลับต้องแก้ยังไง

ก่อนที่จะเริ่มงีบหลับ ให้ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลายเพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจของเราผ่อนคลาย การฝึกหายใจลึกๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการฟังเพลงที่เบาๆ สามารถช่วยลดความเครียดและช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้มากขึ้น


อย่าละเลยการนอนหลับตอนกลางคืน

ถึงแม้การงีบระหว่างวันจะช่วยเติมพลังจากการพักผ่อนไม่เพียงพอได้ แต่อย่าลืมว่าการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่แท้จริงมาจากการพักผ่อนที่เพียงพอและหลับอยากมีคุณภาพจริงๆในเวลากลางคืน การสร้างกิจวัตรการนอนหลับที่สม่ำเสมอช่วงส่งผลให้ร่างกายของเราได้พักผ่อนตามนาฬิกาชีวิต


ควรตั้งเป้าที่จะนอนหลับตอนกลางคืนให้เพียงพอเพื่อลดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน พยายามเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวัน จะช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในตอนตื่นนอน และช่วยลดแนวโน้มที่จะง่วงนอนระหว่างวันได้



แต่หากคุณเป็นผู้ที่นอนไม่หลับ หลับยาก อาจต้องลองมองหาตัวช่วยดีๆในการนอนหลับเพิ่มเติม อย่างอาหารเสริมที่ช่วยในการนอนหลับ Dreamvita ของเราได้รวบรวมสารสกัดคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็น Tart cherry จากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดใน สหรัฐอเมริกา และ Magnesium ฟอร์มที่ดูดซึมง่ายและสารสกัดอื่นๆไม่ว่าจเป็น GABA, L-theanine, Chamomile, Glycine, Lemon balm ที่สำคัญปราศจากส่วนผสมของเมลาโทนินและไม่ใช่ยานอนหลับ พร้อมดูแลการนอนของคุณภายในหนึ่งแคปซูล



หากคุณมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ สามารถทักมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อรับคำแนะนำและการดูแลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพักผ่อนและการนอนได้ที่ Line OA : @pealicious or https://lin.ee/ileGPLS⁠







อ้างอิง

springnews. (2021, May 14). Power nap ง่วงแบบนี้ พักผ่อนงีบหลับกี่นาที ถึงจะดีที่สุด ? Springnews. https://www.springnews.co.th/spring-life/809361

การนอนงีบ มีผลต่างร่างกายอย่างไร. (2018, September 9). Mattress City. https://mattresscity.co.th/th/news/how-do-naps-affect-your-body-n5.html

Reporter, G. S. (2020, December 8). Sleeping on the job: how a quick nap makes us more efficient. The Guardian. https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2020/dec/06/sleeping-on-the-job-how-a-quick-nap-makes-us-more-efficient


Comentários


Recent Posts
Archive
bottom of page